Call Center

Call Center

02-078-1111



นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น

กลุ่มอำพลฟูดส์

1. บทนำ

กลุ่มอำพลฟูดส์ ยึดมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใสและเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัทต่อต้านการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบด้วยตระหนักดี ว่าการคอร์รัปชั่นนั้นเป็นภัยร้ายแรงที่ทำลายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม รวมทั้งก่อให้เกิด ความเสียหายต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในปี 2558 บริษัทได้เข้าร่วมลงนามในคำประกาศเจตนารมณ์ “แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต” โดยจะร่วมมือกับภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และองค์กรระหว่างประเทศเพื่อสร้างมาตรฐานการประกอบธุรกิจที่ใสสะอาด นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น (“นโยบาย”) ฉบับนี้ ถือเป็นส่วนเพิ่มเติมของจรรยาบรรณทางธุรกิจ และได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท

2. วัตถุประสงค์

นโยบายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

2.1 แสดงออกถึงจุดยืนของบริษัทในการต่อต้านการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบอย่างสิ้นเชิง

2.2 กำหนดเกณฑ์และแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันมิให้บริษัทและพนักงานฝ่าฝืนกฎหมายต่อต้าน การคอร์รัปชั่น

2.3 กำหนดขั้นตอนการสอบทานและกำกับดูแลติดตามเพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้

2.4 สนับสนุนให้พนักงานเฝ้าระวังและรายงานการพบเห็นการคอร์รัปชั่นผ่านช่องทางการสื่อสารที่ปลอดภัย

3. ขอบเขต

3.1 นโยบายฉบับนี้บังคับใช้กับกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกคน (รวมเรียกว่า “พนักงาน”) ของบริษัท

3.2 บริษัทห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ซึ่งหมายความรวมถึงคู่สมรส และบุตร ยอมรับการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อมรวมถึงการกระทำใด ๆ อันเป็นการกระทำให้ตนเองหรือบุคคลอื่นได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินธุรกิจกับบริษัท โดยให้ครอบคลุมถึงตัวแทนและตัวกลางทางธุรกิจอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องหรือกระทำการในนามบริษัทปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้

4. คำนิยาม

ข้อความหรือคำใด ๆ ที่ใช้ในนโยบายฉบับนี้ให้มีความหมายดังต่อไปนี้ เว้นแต่ข้อความดังกล่าว จะแสดงหรือได้อธิบายไว้เป็นอย่างอื่น “การคอร์รัปชั่น” หมายถึง การใช้อำนาจที่ได้มาโดยหน้าที่ของตนกระทำการหรือไม่กระทำการใดที่มิชอบ โดยการเรียกรับ ยอมจะรับให้ ขอให้รับ ว่าจะให้ หรือกระทำการใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเอกชน หน่วยงาน ของเอกชน เพื่อให้บุคคลและ /หรือหน่วยงานดังกล่าวข้างต้นแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน และ /หรือ ของบริษัท เว้นแต่กรณีที่บทบัญญัติของกฎหมาย ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีได้กำหนดว่าสามารถกระทำได้ ทั้งนี้การคอร์รัปชั่นในที่นี้หมายความรวมถึงการให้สินบน การคอร์รัปชั่น อาจกระทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น

4.1 การสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง (Political contributions)

4.2 การบริจาคเพื่อการกุศลและ /หรือการเป็นผู้ให้การสนับสนุน (Charitable contributions and sponsorships)

4.3 ค่าอำนวยความสะดวก (Facilitation payments)

4.4 ของขวัญ สันทนาการ และค่าใช้จ่ายเลี้ยงรับรอง (Gifts and hospitality)

5. หน้าที่และความรับผิดชอบ

5.1 คณะกรรมการบริษัททำหน้าที่กำกับดูแลนโยบายและมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ตามกฎหมายและจรรยาบรรณที่กำหนดไว้

5.2 คณะกรรมการจรรยาบรรณมีหน้าที่หลักในการนำนโยบายฉบับนี้ไปปฏิบัติใช้รวมทั้งติดตามประสิทธิผลของนโยบายฉบับนี้ ตลอดจนชี้แจงตอบข้อซักถามและตีความในกรณีที่มีข้อสงสัย

5.3 ผู้บริหารทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบทำให้มั่นใจว่าผู้ใต้บังคับบัญชาของตนได้ตระหนักถึง และมีความเข้าใจนโยบายฉบับนี้โดยได้รับการอบรมอย่างพอเพียงและสม่ำเสมอ

5.4 พนักงานจะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องกับนโยบายฉบับนี้ กรณีมีข้อสงสัยหรือพบเห็น การฝ่าฝืนนโยบายฉบับนี้จะต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาหรือผ่านช่องทางการรายงานที่กำหนดไว้ ตาม “นโยบายการรับเรื่อง ร้องเรียนและเบาะแสการกระทำผิดและการทุจริตของบริษัท”

6. นโยบายและแนวทางปฏิบัติ

6.1 บททั่วไป

  • 6.1.1 บริษัทมีนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างสิ้นเชิง (Zero-Tolerance Policy) และถือปฏิบัติตามกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการคอร์รัปชั่นในประเทศไทย
  • 6.1.2 บริษัทจะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการคอร์รัปชั่นทั้งทางตรงและทางอ้อม และมุ่งมั่น ที่จะนำระบบที่มีประสิทธิผลมาใช้ในการต่อต้านการคอร์รัปชั่น
  • 6.1.3 พนักงานของบริษัทต้องไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำใด ๆ ที่ถือว่า เป็นการคอร์รัปชั่น การให้ /รับสินบนแก่ /จากเจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชน เช่น บุคลากรของบริษัทต่าง ๆ ที่มีธุรกรรมร่วมกับบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อให้ได้มาหรือคงไว้ ซึ่งธุรกิจหรือข้อได้เปรียบ ทางการแข่งขัน

6.2 การสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง

  • 6.2.1 การสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง หมายถึง การสนับสนุนทั้งที่เป็นตัวเงิน หรือมิใช่ตัวเงินแก่พรรคการเมือง นักการเมืองหรือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทางการเมือง การสนับสนุน ที่มิใช่ตัวเงินจะรวมถึงการให้ยืมหรือบริจาค อุปกรณ์ การให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการ รวมทั้งการสละเวลาทำงานของพนักงาน
  • 6.2.2 บริษัทมีนโยบายเป็นกลางทางการเมืองโดยจะไม่ให้การสนับสนุน หรือกระทำการอันเป็นการฝักใฝ่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง
  • 6.2.3 ในกรณีที่บริษัทมีความประสงค์ที่จะให้การสนับสนุนทางการเมือง เพื่อส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย การสนับสนุนดังกล่าวจะต้องไม่ขัดต่อหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือกระทำไปด้วยความคาดหวังที่จะได้รับการปฏิบัติตอบแทนเป็นพิเศษ ทั้งนี้ในการสนับสนุน จะต้องจัดทำใบบันทึกคำขอ ระบุชื่อผู้รับการสนับสนุน และวัตถุประสงค์ของการสนับสนุน พร้อมแนบเอกสารประกอบทั้งหมดเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ
  • 6.2.4 พนักงานมีสิทธิเสรีภาพในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองภายใต้บทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ แต่จะต้องไม่แอบอ้างความเป็นพนักงาน หรือนำทรัพย์สิน อุปกรณ์ เครื่องมือใด ๆ ของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการใด ๆ ในทางการเมือง หากเข้าร่วมจะต้องพึงระมัดระวังการดำเนินการใด ๆ ที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจว่าบริษัทได้ให้การสนับสนุนหรือฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง อย่างไรก็ดีเฉพาะการมีส่วนร่วมในเวลาส่วนตัว และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลเท่านั้น

6.3 การบริจาคเพื่อการกุศลและการเป็นผู้ให้การสนับสนุน

  • 6.3.1 บริษัทบริจาคเพื่อการกุศลทั้งในรูปแบบของการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน หรือในรูปแบบอื่น ๆ (เช่น ให้ความรู้ หรือสละเวลา) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมตอบแทนสังคม ตลอดจนประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัท โดยไม่ได้มุ่งหวังผลทางธุรกิจเป็นการตอบแทน
  • 6.3.2 การเป็นผู้ให้การสนับสนุนเป็นวิธีการประชาสัมพันธ์ธุรกิจของบริษัทวิธีหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากการบริจาคเพื่อการกุศล โดยอาจกระทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น การสนับสนุนกิจกรรม ทางวัฒนธรรม ศิลปะ การศึกษา เป็นต้น
  • 6.3.3 พนักงานต้องมีความระมัดระวังเพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคเพื่อการกุศล และการเป็นผู้ให้การสนับสนุนจะไม่ถูกนำไปใช้เป็นวิธีการหลีกเลี่ยงในการให้สินบน ตลอดจน ต้องดำเนินการอย่างโปร่งใสและเป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
  • 6.3.4 การบริจาคเพื่อการกุศลและการเป็นผู้ให้การสนับสนุนจะกระทำได้ต่อเมื่อ เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะและต้องเป็นการดำเนินการโดยสุจริต และเป็นไปตามการกำกับดูแล และจรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษัท นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นและกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
  • 6.3.5 ในการบริจาคเพื่อการกุศลหรือเป็นผู้ให้การสนับสนุนจะต้องจัดทำใบบันทึกคำขอ ระบุชื่อผู้รับบริจาค /ผู้รับการสนับสนุนและวัตถุประสงค์ของการบริจาค /สนับสนุนพร้อมแนบเอกสารประกอบทั้งหมดเสนอให้ผู้มีอำนาจอนุมัติของบริษัทพิจารณาอนุมัติตามระดับอำนาจอนุมัติของบริษัท

6.4 ค่าอำนวยความสะดวก

  • 6.4.1 ค่าอำนวยความสะดวก คือ สินบนจำนวนเล็กน้อย ซึ่งจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเร่งประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานประจำวันหรือการปฏิบัติงานที่จำเป็น ซึ่งเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติอยู่แล้ว
  • 6.4.2 บริษัทไม่มีนโยบายจ่ายเงินค่าอำนวยความสะดวก โดยจะไม่ดำเนินการใด ๆ และยอมรับการกระทำใด ๆ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการจ่ายเงินรวมถึง การไม่อำนวยความสะดวกใด ๆ เพื่อให้มีการจ่ายเงินดังกล่าวแต่อย่างใด

6.5 ของขวัญ สันทนาการ และค่าใช้จ่ายเลี้ยงรับรอง

  • 6.5.1 บริษัทตระหนักดีว่าการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพันธมิตรทางธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของบริษัท ของขวัญ สันทนาการ และการเลี้ยงรับรองเป็นที่ยอมรับได้ถ้าสิ่งดังกล่าวมีเหตุผล มีความเหมาะสม กระทำโดยสุจริต และปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายของบริษัท ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวต้องสอดคล้องตามจรรยาบรรณของบริษัทและเป็นไปตามระเบียบของบริษัทที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามบริษัทจะต้องไม่ให้ หรือรับ ของขวัญ หรือการสันทนาการใด ๆ ถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้รับกระทำการที่ไม่เป็นกลาง
  • 6.5.2 ของขวัญ การสันทนาการ และการเลี้ยงรับรองต่าง ๆ ให้หมายความถึงเอกสาร การรับจ่ายเงินที่แสดงมูลค่าของขวัญที่ให้ และ /หรือ การรับของขวัญ ค่าอาหาร หรือค่าของที่ระลึก การเชิญเพื่อไปงานเลี้ยงสังสรรค์ หรืองานสังคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ โดยกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถที่จะกระทำได้ภายในขอบเขต และมูลค่าที่สมเหตุสมผล โดยเป็นไปตามแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป
  • 6.5.3 พนักงานสามารถให้ /รับของขวัญและค่าใช้จ่ายเลี้ยงรับรองแก่ /จากบุคคลใด ๆ ได้หากเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้
  • (1) ไม่เป็นการกระทำโดยตั้งใจเพื่อครอบงำ ชักนำ หรือ ตอบแทนบุคคลใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบใด ๆ ผ่านการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นการแลกเปลี่ยนอย่างชัดเจน หรือแอบแฝงเพื่อให้ได้มาซึ่งการช่วยเหลือหรือผลประโยชน์
  • (2) ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยของขวัญที่ให้แก่กันในหน้าที่การงานควรมีราคาที่เหมาะสมและเป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณี ในแต่ละโอกาส
  • (3) เป็นการให้ในนามบริษัทไม่ใช่ในนามของพนักงาน
  • (4) ไม่เป็นของขวัญที่อยู่ในรูปของเงินสดหรือสิ่งเทียบเท่าเงินสด (เช่น บัตรของขวัญหรือบัตรกำนัล เช็ค พันธบัตร หุ้น อัญมณี ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น)
  • (5) เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น การให้ของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตรุษจีน หรือปี ใหม่ ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปกติ
  • (6) ประเภทและมูลค่ามีความเหมาะสมและมอบให้ถูกต้องตามกาลเทศะ เช่น ในกรณีที่บริษัทอยู่ระหว่างจัดให้มีการประกวดราคาพนักงานจะต้องไม่รับของขวัญ หรือการเลี้ยงรับรองจากบริษัทที่เข้าร่วมการประกวดราคานั้น ๆ
  • (7) เป็นการให้อย่างเปิดเผยไม่ปกปิด
  • 6.5.4 การเสนอ และ/หรือ การรับสันทนาการใด ๆ ซึ่งบุคคลที่ได้เสนอได้เข้าร่วมด้วย ในสันทนาการดังกล่าวสามารถกระทำได้ก็ต่อเมื่อ
  • (1) เป็นค่าใช้จ่ายเล็กน้อยสำหรับการพูดคุยในทางธุรกิจ
  • (2) ในการจัดนั้น ๆ มีความเหมาะสมสำหรับการพูดคุยในทางธุรกิจ
  • (3) เป็นการกระทำที่เป็นไปตามปกติมารยาท ซึ่งหมายความถึงสามารถเปรียบเทียบกันได้กับความบันเทิงที่ตอบแทนกลับไปและเหมาะสมในการบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในทางธุรกิจ
  • (4) เป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำการเรียกร้องซึ่งหมายถึงผู้ที่เป็นฝ่ายรับไม่ได้เป็นผู้เรียกร้อง หรือชี้แนะแต่อย่างใด
  • 6.5.5 ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิเสธการรับของขวัญจากบุคคลภายนอกได้ พนักงานสามารถรับของขวัญซึ่งให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543 ซึ่ง ณ ปัจจุบันได้กำหนดราคาหรือมูลค่าของการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากแต่ละบุคคล แต่ละโอกาสไม่เกิน 3,000 บาท โดยต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาและเลขานุการคณะกรรมการจรรยาบรรณทราบโดยใช้แบบรายงานการรับของขวัญ และนำส่งของขวัญดังกล่าวแก่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เพื่อนำไปเป็นของรางวัลให้แก่พนักงานหรือบริจาคเพื่อการกุศลตามความเหมาะสม
  • 6.5.6 พนักงานต้องกรอกแบบฟอร์มสำหรับการขอดำเนินการสันทนาการ และ /หรือ การเลี้ยงรับรองรวมถึงการขอซื้อหรือเบิกของขวัญเพื่อส่งให้ผู้บังคับบัญชาอนุมัติ
  • 6.5.7 ในกรณีที่พนักงานเกิดข้อสงสัยว่าตนสามารถที่จะยอมรับของขวัญ การสันทนาการ หรือการเลี้ยงรับรองใดได้หรือไม่ สามารถสอบถามไปยังฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือคณะกรรมการจรรยาบรรณ

6.6 บริษัทและบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจ

  • 6.6.1 บริษัทย่อยและบริษัทในเครือที่บริษัทมีอำนาจในการควบคุม บริษัทจะแจ้ง และสนับสนุนให้บริษัทย่อยและบริษัทในเครือที่บริษัทมีอำนาจในการควบคุมปฏิบัติตามมาตรการ ต่อต้านการคอร์รัปชั่น
  • 6.6.2 ตัวแทนและตัวกลางทางธุรกิจ ห้ามพนักงานว่าจ้างตัวแทนหรือตัวกลางทางธุรกิจ ใด ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระทำการคอร์รัปชั่น
  • 6.6.3 ผู้จัดจำหน่ายสินค้า /ให้บริการและผู้รับเหมา บริษัทจะจัดให้มีการจัดซื้อจัดหาสินค้า /บริการด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใส รวมทั้ง จะดำเนินการประเมินเพื่อคัดเลือกผู้จัดจำหน่ายสินค้า /ให้บริการและผู้รับเหมาด้วยความรอบคอบ ทั้งนี้บริษัทจะแจ้งให้ผู้จัดจำหน่ายสินค้า /ให้บริการและผู้รับเหมารับทราบนโยบายฉบับนี้และบริษัท สงวนสิทธิ์ที่จะบอกยกเลิกการจัดซื้อและว่าจ้างหากพบว่าผู้จัดจำหน่ายสินค้า /ให้บริการและผู้รับเหมากระทำการคอร์รัปชั่น

7. การประเมินความเสี่ยง

7.1 การประเมินความเสี่ยงถือเป็นรากฐานของมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น ดังนั้น ผู้บริหาร ทุกคนจะต้องมีความเข้าใจว่ากระบวนการทางธุรกิจของบริษัทมีความเสี่ยงจากการคอร์รัปชั่นได้อย่างไร เพื่อจัดการความเสี่ยงดังกล่าว

7.2 ฝ่ายบริหารจะต้องประเมินความเสี่ยงจากการคอร์รัปชั่นที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ (อย่างน้อยปีละครั้ง) รวมทั้งทบทวนมาตรการจัดการความเสี่ยงที่ใช้อยู่ให้มีความเหมาะสมที่จะป้องกัน ความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้

8. การควบคุม

8.1 บริษัทจะรักษาระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิผลเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชั่น ซึ่งครอบคลุมถึงการถ่วงดุลและการตรวจสอบระหว่างกันด้านบัญชี การจัดเก็บข้อมูลรวมถึง กระบวนการทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายฉบับนี้

8.2 ระบบการควบคุมภายในจะประกอบด้วยการควบคุมทั่วทั้งองค์กรรวมถึงการควบคุม และขั้นตอนการปฏิบัติที่กำหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งออกแบบมาเพื่อจัดการความเสี่ยง จากการคอร์รัปชั่นที่บริษัทอาจต้องเผชิญเป็นการเฉพาะ

8.3 การควบคุมทั่วทั้งองค์กรประกอบด้วย จรรยาบรรณทางธุรกิจ คำแถลงต่อต้านการคอร์รัปชั่นของฝ่ายบริหาร การสอบทานของผู้ตรวจสอบ การกำกับดูแลสัญญาของฝ่ายกฎหมาย นโยบาย ด้านทรัพยากรบุคคลตั้งแต่การว่าจ้าง การกำหนดค่าตอบแทนและการลงโทษทางวินัย การมอบอำนาจ และการแบ่งแยกหน้าที่งานอย่างเหมาะสม การบันทึกและรายงานข้อมูลทางบัญชีและการเงินอย่างถูกต้องและเป็นจริง และสายด่วนจริยธรรมของบริษัท

9. การจัดเก็บรักษาข้อมูล

9.1 บริษัทมีนโยบายที่จะปฏิบัติตามมาตรฐาน หลักการ รวมทั้งกฎหมายที่บังคับใช้ เกี่ยวกับการรายงานข้อมูลทางบัญชีและการเงิน

9.2 ค่าใช้จ่ายทุกประเภทจะต้องมีเอกสารประกอบรวมทั้งการจัดเก็บและรักษาข้อมูลของบริษัทจะต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

9.3 บริษัทไม่อนุญาตให้มีการบันทึกข้อมูลที่เป็นเท็จ ผิดหลักการ ไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือทำการตกแต่งบัญชีรวมทั้งจะต้องไม่มีบัญชีนอกงบการเงินเพื่อใช้สนับสนุนหรือปกปิดการจ่ายเงิน ที่ไม่เหมาะสม

10. ทรัพยากรบุคคล

บริษัทจะนำนโยบายฉบับนี้มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารงานบุคลากรของบริษัทซึ่งรวมถึง การสรรหา การฝึกอบรม การประเมินผลงาน การให้ค่าตอบแทนและการเลื่อนตำแหน่ง

11. การอบรมและการสื่อสาร

11.1 พนักงาน

พนักงานทุกคนจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับการต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ตระหนักถึงนโยบายฉบับนี้โดยเฉพาะรูปแบบต่าง ๆ ของการให้สินบน ความเสี่ยง จากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการให้สินบน ตลอดจนวิธีการรายงานกรณีพบเห็นหรือสงสัยว่ามีการคอร์รัปชั่น พนักงานทุกคนจะได้รับสำเนานโยบายฉบับนี้ เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าได้รับทราบและเข้าใจถึงนโยบายของบริษัทในการต่อต้านการคอร์รัปชั่น นอกจากนี้ยังสามารถหาอ่านนโยบายรวมทั้งข้อมูลล่าสุดที่ปรับปรุงแก้ไขได้จากเว็บไซต์ของบริษัทและ Intranet บริษัทจะแจ้งให้พนักงานทราบหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ที่สำคัญการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายฉบับนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการปฐมนิเทศ หรือก่อนการเข้ารับตำแหน่งของพนักงานใหม่ทุกคนของบริษัท

11.2 ตัวแทน ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า /ให้บริการและผู้รับเหมา

บริษัทจะสื่อสารนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างสิ้นเชิงให้แก่ตัวแทน ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า /ให้บริการและผู้รับเหมาทราบ ตั้งแต่เริ่มต้นความสัมพันธ์ทางธุรกิจและในภายหลัง ตามความเหมาะสม ทั้งนี้บริษัทสนับสนุนให้ตัวแทน ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า /ให้บริการ และผู้รับเหมายึดมั่นในมาตรฐานการรับผิดชอบต่อสังคมเช่นเดียวกับบริษัท

12. กรณีมีข้อสงสัย

หากพนักงานคนใดเกิดความไม่มั่นใจว่าการกระทำใด อาจเข้าลักษณะเป็นการคอร์รัปชั่น หรือในกรณีที่มีคำถามหรือข้อสงสัย พนักงานควรปรึกษากับผู้บังคับบัญชาโดยตรงหรือเลขานุการคณะกรรมการจรรยาบรรณ

13. การรายงานการพบเห็นการคอร์รัปชั่น

หากพนักงานมีข้อสงสัยหรือมีหลักฐานว่ามีพนักงานหรือบุคคลซึ่งกระทำการในนามบริษัท ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการคอร์รัปชั่นจะต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยทันทีหรือรายงาน ผ่านช่องทางการรายงานตาม “นโยบายการรับเรื่องร้องเรียนและเบาะแสการกระทำผิดและการทุจริต” เมื่อบริษัทได้รับการรายงานแล้วจะดำเนินการอย่างจริงจังและจะไม่ดำเนินการลงโทษใด ๆ กับพนักงาน ที่ให้ข้อมูลด้วยเจตนาสุจริต

14. การปกป้องดูแลพนักงาน

14.1 บริษัทให้ความมั่นใจกับพนักงานว่าจะไม่มีพนักงานคนใดต้องถูกลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือได้รับผลกระทบใด ๆ จากการปฏิเสธการให้สินบนถึงแม้ว่าการปฏิเสธดังกล่าวจะทำให้บริษัท สูญเสียธุรกิจหรือพลาดโอกาสในการได้ธุรกิจใหม่ บริษัทเชื่อว่านโยบายไม่ยอมรับการให้สินบน และการคอร์รัปชั่นอย่างสิ้นเชิงจะช่วยสร้างคุณค่าให้แก่บริษัท นอกจากนี้บริษัทไม่ยินยอมให้ผู้ใด มากระทำการข่มขู่ คุกคาม หรือหน่วงเหนี่ยวพนักงานที่ตั้งใจปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้

14.2 หากพนักงานเชื่อว่าตนเองถูกข่มขู่ คุกคาม หรือหน่วงเหนี่ยว ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงหรือเลขานุการคณะกรรมการจรรยาบรรณหรือหัวหน้าหน่วยงานทรัพยากรบุคคลโดยทันที และหากว่ายังไม่ได้รับการแก้ไขให้รายงานผ่านช่องทางการรายงานตาม “นโยบายการรับเรื่องร้องเรียนและเบาะแสการกระทำผิดและการทุจริต” ของบริษัท

15. การฝ่าฝืนนโยบาย

15.1 บริษัทจะดำเนินการลงโทษทางวินัยแก่พนักงานผู้ฝ่าฝืนการปฏิบัติตามนโยบายนี้ รวมถึงผู้บังคับบัญชาโดยตรงที่เพิกเฉยต่อการกระทำผิดหรือรับทราบว่ามีการกระทำผิด แต่ไม่ดำเนินการจัดการให้ถูกต้อง ซึ่งมีบทลงโทษทางวินัยจนถึงขั้นให้ออกจากงาน การไม่ได้รับรู้ ถึงนโยบายฉบับนี้ และ /หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามได้

15.2 ตัวแทน ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า /ให้บริการ หรือผู้รับเหมาใด ๆ ของบริษัท ที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ตามนโยบายฉบับนี้หรือรับทราบถึงการกระทำที่ขัดต่อนโยบายฉบับนี้ แต่ไม่ได้รายงานให้ฝ่ายบริหารของบริษัททราบหรือให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเมื่อเจ้าหน้าที่สอบสวนของบริษัทได้สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำที่อาจขัดต่อนโยบายฉบับนี้อาจถูกบอกเลิกสัญญาได้

16. นโยบายที่เกี่ยวข้อง

พนักงานควรอ่านทำความเข้าใจนโยบายนี้ร่วมกับนโยบายและคู่มืออื่น ๆ ของบริษัทดังนี้

(1) จรรยาบรรณทางธุรกิจ

(2) นโยบายการรับเรื่องร้องเรียนและเบาะแสการกระทำผิดและการทุจริต

(3) ข้อบังคับพนักงาน

17. การกำกับติดตามและสอบทาน

17.1 คณะกรรมการจรรยาบรรณ ต้องทบทวนนโยบายฉบับนี้เป็นประจำทุกปีและเสนอ ให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติหากมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้ง กำกับและติดตามการนำนโยบายฉบับนี้ไปปฏิบัติและให้คำแนะนำต่างๆอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้หากต้องมีการปรับปรุงใด ๆ ต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุด

17.2 ฝ่ายบัญชีและการเงิน จะตรวจสอบระบบการควบคุมภายในและกระบวนการต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในมีประสิทธิผลในการต่อต้านการให้สินบน และการคอร์รัปชั่น ทั้งนี้จะหารือผลการตรวจสอบร่วมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการแก้ไข ที่เหมาะสมและจะรายงานให้ฝ่ายบริหารและคณะกรรมการได้รับทราบต่อไป

ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป

Privacy Preferences

ท่านสามารถเลือกตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิดคุกกี้แต่ละประเภทได้ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น (Strictly Necessary Cookies) ดังนี้

Manage Consent Preferences

  • การตั้งค่าคุกกี้
    Always Active

    คุกกี้ที่จำเป็น (Strictly Necessary Cookies)เปิดใช้งานตลอดเวลา คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้เป็นปกติ มีความปลอดภัย และทำให้ท่านสามารถเข้าใช้เว็บไซต์ได้ เช่น การ log in เข้าสู่เว็บไซต์ การยืนยันตัวตน ทั้งนี้ ท่านไม่สามารถปิดการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ (Analytic Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้


  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน (Functional Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ


  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน


บันทึกการตั้งค่า