1. Myanmar
2. Laos
3. Indonesia
4. Singapore
5. UAE
6. Philippines
7. UAE
8. South Korea
9. Japan
10. China
11. Hong Kong
12. Taiwan
13. Vietnam
14. Cambodia
15. Saudi Arabia
16. Iran
17. India
18. Kuwait
19. Brunei
20. Macau
21. Malaysia
1. Bulgaria
2. Cyprus
3. Suriname
4. Faroe Islands
5. Seychelles
6. Lithuania
7. Serbia
8. Portugal
9. Slovakia
10. Latvia
11. Greenland
12. Estonia
13. Romania
14. Greece
15. Croatia
16. Hungary
17. Slovenia
18. Finland
19. Denmark
20. Ireland
21. Malta
22. Iceland
23. Ukraine
24. Italy
25. Spain
26. Norway
27. United Kingdom
28. France
29. Switzerland
30. Netherlands
31. Luxembourg
32. Belgium
33. Austria
34. Sweden
35. Kyrgyzstan
36. Armenia
37. Belarus
38. Kazakhstan
39. Russia
40. Poland
41. Czech Republic
1. Bolivia
2. Jamaica
3. United State
4. Canada
1. French Polynesia
2. New Zealand
3. Australia
1. Mayotte
2. Reunion
3. South Africa
การดำเนินธุรกิจและกระบวนการผลิตของอำพลฟูดส์ จะเกิดขยะทั้งประเภทขยะมูลฝอยและขยะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หรือขยะรีไซเคิล ได้แก่ กระดาษ แก้ว พลาสติก โลหะ และอโลหะ เป็นต้น ซึ่งหากมีการคัดแยกประเภทขยะ และควบคุมปริมาณขยะที่ต้นทางจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ในการลดการใช้ทรัพยากรและยังสามารถเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายขยะอีกด้วย
"โครงการกล่องวิเศษ (Magic Box)" โดยบริษัท อำพลฟูดส์โพรเซสซิ่ง จำกัด เป็นโครงการที่ห่วงใย และใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ในการช่วยลดภาวะโลกร้อน ด้วยการนำกล่องบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มประเภท ยูเอชที (UHT) ทุกผลิตภัณฑ์ เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล (Recycle) เพื่อแปรรูปเป็นแผ่นชิปบอร์ด (Chipboard) และนำมาประกอบเป็นโต๊ะ-เก้าอี้นักเรียน ที่แข็งแรงและทนทาน เพื่อมอบให้แก่โรงเรียนต่างๆที่ขาดแคลน ทั้ง 77 จังหวัด ทั่วประเทศ ภายใต้สโลแกนว่า " แกะ ล้าง เก็บ ส่ง "
ก๊าซชีวภาพ (Biogas) หรือไบโอก๊าซ คือ ก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการหมักย่อยสลายของสารอินทรีย์ภายใต้สภาวะที่ปราศจากออกซิเจน (anaerobic digestion) โดยทั่วไปจะหมายถึง ก๊าซมีเทน ที่เกิดจากการหมัก (fermentation) ของสารอินทรีย์ โดยกระบวนการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลุมขยะ กองมูลสัตว์ และก้นบ่อแหล่งน้ำนิ่ง กล่าวคือเมื่อไหร่ก็ตามที่มีสารอินทรีย์หมักหมมกันเป็นเวลานานก็อาจเกิดก๊าซชีวภาพ
โครงการก่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหาร (Food Waste) ระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร (Food Waste Biogas System) ของบริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ก่อสร้างขึ้นเพื่อกำหนดวิธีการจัดการขยะอินทรีย์ที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล โดยใช้เทคโนโลยีการบำบัดของเสียแบบไร้อากาศ (Anaerobic Digestion) นอกจากสามารถผลิตก๊าซชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในรูปพลังงานทดแทนแล้ว ยังได้ผลพลอยได้คือกากของเสียจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ ที่สามารถใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ อันจะเป็นการช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน
เนื่องจากทาง บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด มีใยมะพร้าวซึ่งเป็นชีวมวลที่ได้จากการเตรียมวัตถุดิบจำนวนมาก ในช่วงแรกใช้วิธีการนำไปเผาในเครื่องกำเนิดไอน้ำ (Boiler) ทันที แต่ค่าความร้อนไม่คงที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องกำเนิดไอน้ำ (Boiler)ไม่ได้ ภายหลังบริษัทฯ ได้เห็นงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ด้านการทำเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด ทำให้มีแนวคิดที่ว่า วัตถุดิบใยมะพร้าวที่มีอยู่นั้นน่าจะสามารถนำไปใช้ทำเป็น เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด หรือ Wood Pellets ได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงได้นำวัตถุดิบใยมะพร้าวเข้าไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเพื่อหาค่าความหนาแน่น ผลปรากฏว่า จากเดิมค่าความหนาแน่นของใยมะพร้าวจะอยู่ที่ 52 kg/m3 แต่หากนำใยมะพร้าวมาทำเป็น Wood pellets ค่าความหนาแน่นจะเพิ่มไปที่ 573.6 kg/m3 ซึ่งค่าความหนาแน่นนั้นส่งผลต่อค่าความร้อนของวัตถุดิบที่มากขึ้นด้วย
กระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่น (Biomass Gasification) เป็นกระบวนการที่ทำให้องค์ประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีอยู่ในเชื้อเพลิงชีวมวล เปลี่ยนรูปไปเป็นแก๊สเชื้อเพลิงที่จุดไฟติดและมีค่าความร้อนสูง โดยอาศัยปฏิกิริยาอุณหเคมี (Thermo-chemical Reaction) ซึ่งแก๊สเชื้อเพลิงดังกล่าวนี้ประกอบด้วย แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) แก๊สไฮโดรเจน (H2) และแก๊สมีเทน (CH4) ซึ่งสภาวะที่ทำให้เกิดแก๊สดังกล่าวก็คือ สภาวะการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ เป็นสภาวะที่มีการจำกัดปริมาณอากาศหรือแก๊สออกซิเจน เพราะหากมีแก๊สออกซิเจนเพียงพอ หรือมากเกินพอจะกลายเป็นกระบวนการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ (Combustion) และมีการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไอน้ำออกมาซึ่งไม่ติดไฟ
Privacy Preferences
ท่านสามารถเลือกตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิดคุกกี้แต่ละประเภทได้ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น (Strictly Necessary Cookies) ดังนี้
ยิมยอมทั้งหมดManage Consent Preferences
คุกกี้ที่จำเป็น (Strictly Necessary Cookies)เปิดใช้งานตลอดเวลา คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้เป็นปกติ มีความปลอดภัย และทำให้ท่านสามารถเข้าใช้เว็บไซต์ได้ เช่น การ log in เข้าสู่เว็บไซต์ การยืนยันตัวตน ทั้งนี้ ท่านไม่สามารถปิดการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน